สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมืองเชียงใหม่

อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของจังหวัดและของภาคเหนือ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอแม่ริม ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอสันทรายและอำเภอสันกำแพง ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอสารภี ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอหางดง อำเภอเมืองเชียงใหม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่หลายแห่งด้วยกัน เช่น สวนสัตว์เชียงใหม่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ฯลฯ ปัจจุบันเมืองเชียงใหม่มีห้างสรรพสินค้าอยู่มากมายหลายแห่ง รองรับกับความต้องการของเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว

"; ?>

โรงแรม-ที่พักในเมืองเชียงใหม่

ค้นหาโรงแรมในเชียงใหม่ สามารถเลือกโรงแรมใกล้สถานที่สำคัญต่างๆในเชียงใหม่ได้

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)

ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้าด้านที่ตัดกับถนนราชดำเนิน ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เจ้าบุรีรัตน์เป็นตำแหน่งทางราชการ คุ้มเจ้าบุรีรัตน์หลังนี้คาดว่าสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๓๖ ปัจจุบันตกเป็นของตระกูลกิติบุตรและทิพย์มณฑล ซึ่งมอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดตั้งเป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล จัดการ และดำเนินงาน ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อเก็บข้อมูล และค้นคว้า วิจัย อันนำไปสู่แนวทางในการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง

ชุมชนวัดเกตุ

เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก เกิดจากชนหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวฝรั่ง และชาวพื้นเมือง สามารถดูได้จากรูปแบบของ สถาปัตยกรรม ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงในปัจจุบันนี้ มีวัดเกตุการามอยู่ศูนย์กลาง ระหว่างชุมชน การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เริ่มขึ้นอย่างจริงจังช่วงหลัง พ.ศ. ๒๓๓๙ หรือหลังการสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง ก่อนหน้าที่รถไฟจะมาถึงเชียงใหม่ที่นี่เป็นชุมชนที่เป็นท่าน้ำสำคัญของ การเดินทางเรือระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) มายังเมืองเชียงใหม่ และเมืองอื่นๆที่อยู่ทางใต้ลงไป ย่านวัดเกตุจึงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆตามความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ของเมืองเชียงใหม่ในยุคนั้น

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9 ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ ชาวเขา ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้าสำหรับผู้สนใจทั่วไป เปิดทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น. ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 5321 0872, 0 5322 1933

พิพิธภัณฑ์แมลงและสิ่งมหัศจรรย์ธรรมชาติ

รวบรวมแมลงชนิดต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ เช่น ด้วง กวาง ตั๊กแตน นอกจากแมลงแล้วยังมีซากพืชซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ต่างๆและหินสะสมสวยงามเป็นแหล่งรวมยุงในประเทศไทยสี่ร้อยกว่าชนิดที่ใช้เวลาสี่สิบกว่าปีรวบรวมเพื่องานวิจัยทางการแพทย์ จัดแสดงที่ 72 นิมมานเหมินทร์ ซ.13 (ศิริมังคลาจารย์ ซ.3) ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง โทร.0 5321 1891 โทรสาร 410916 เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

ตั้งอยู่บนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง) ใกล้ๆกับวัดเจ็ดยอด รวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ เช่น พระพุทธรูปสกุลช่างสมัยล้านนาต่างๆ และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องถ้วยภาคเหนือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาและชาวเขาเผ่าต่างๆ ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่

วัดกู่เต้า

เดิมชื่อ วัดเวฬุวนาราม ตั้งอยู่ในตำบลศรีภูมิ ติดกับสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่นๆ ในเมืองไทย ลักษณะของเจดีย์องค์นี้คล้ายกับนำผลแตงโมมาวางซ้อนกันไว้หลายๆ ลูก ชาวบ้านจึงเรียกว่า เจดีย์กู่เต้า วัดนี้ไม่มีประวัติแจ้งไว้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีตำนานเล่าว่า เจดีย์กู่เต้านี้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าสารวดี ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งมาครองเมืองเชียงใหม่ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๕๐

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๕๔) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๔ และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๑ นานถึง ๘๐ ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๘๘ ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ ๔๐.๘ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร

วัดช่างฆ้อง

สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๐ ชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจากเชียงแสนราวต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้สร้างขึ้น ภายในวัดมีหอไตรซึ่งเป็นตึกสองชั้นตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและไม้ฉลุ เป็นศิลปะผสมระหว่างจีนและพม่า ด้านนอกอาคารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเจ้าสิบชาติฝีมือช่างพื้นบ้าน ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่

วัดเชียงมั่น

อยู่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร และที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม และมีช้างล้อมที่ฐานหมายความว่าคำจุนพระพุทธศาสนาไว้

วัดตำหนัก

อยู่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร และที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม และมีช้างล้อมที่ฐานหมายความว่าคำจุนพระพุทธศาสนาไว้

วัดพระธาตุดอยคำ

ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เดินทางไปได้ตามเส้นทางเรียบคลองชลประทาน จะมีป้ายบอกข้ามคลองไปทางต.แม่เหี๊ยะ ตามประวัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ว่า ขณะนั้นวัดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ(เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการะบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะลงจอดที่สนามบิน

Compare hotel prices and find the best deal - www.hotelscombined.com

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี

เวียงกุมกาม

เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ และซากเจดีย์ วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดกู่ขาว วัดอีก้าง วัดหัวหนอง และ วัดปู่ซ้ง

โรงพยาบาลบรรเทาทุกข์โบราณภาคเหนือ

มูลนิธิหมอชีวกโกมารภัจจ์ ให้บริการตรวจรักษาโรคทุกชนิดตามหลักวิชาการแพทย์แผนโบราณ ใช้ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ การอบไอยาสมุนไพร และนวดไทยบำบัด นอกจากนั้นยังมีการอบรมสอนการแพทย์แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม สาขาเวชกรรม และการนวดไทยพื้นฐานให้ผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เปิดทำการทุกวัน ยกเว้นวันพระ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โรงพยาบาลบรรเทาทุกข์ฯ ตั้งอยู่เลขที่ 78/1 ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง โทร. 0 5327 5085